วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วิธีการทำพิมเสนน้ำ

อุปกรณ์และขั้นตอนการทำพิมเสนน้ำ

1.พิมเสน 1 ส่วน

2.การบูร 2 ส่วน

3.เมลทอล 3 ส่วน

4.น้ำมันยูคาลิปตัส นิดหน่อย

4.ครกบดยา

วิธีทำ

นำพิมเสนใส่ครกตำให้ละเอียด จากนั้นใส่การบูรตามลงไปตำให้ละเอียด แล้วใส่เมลทอลตามลงไปคนให้เข้ากันเมลทอลจะเป็นตัวทำละลาย หากยังมีตะกอนหรือละลายน้อยก็ใส่เมลทอลตามลงไปอีกนิดหน่อยคนให้ละลายให้หมด แล้วใส่น้ำมันยูคาลิปตัสลงไป มากน้อยตามใจชอบลองดมกลิ่นดู หากจะทำเป็นยาหม่องน้ำก็เติมน้ำมันละกำกับน้ำมันเปปเปอร์มินต์ลงไป

ประโยชน์ของพิมเสนน้ำ

ช่วยทำให้ชื่นใจ แก้เป็นลม เป็นต้น แต่ไม่ควรดมมากเพราะอาจทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบหรือประสาทการรับรู้กลิ่นเสียได้

ส่วนประกอบของพิมเสนน้ำแต่ละอย่าง คือ พิมเสน การบูร เมลทอล เป็นอย่างไร ไช่สมุนไพรหรือไม่

หลายคนคงมีคำถามเกิดขึ้นในใจ

ต้องตอบว่าไช่ครับเพราะส่วนประกอบแต่ละชนิดก้สกัดมาจากสมุนไพรครับ

พิมเสน

พิมเสน เป็นชื่อของต้นพืช มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าPogostemon calslin (Blanco) Benth. ในวงศ์ Labiatae ลักษณะเป็นพืชขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง ใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบรูปไข่ ขอบใบจักเป็นซี่ มีขนหนาแน่น ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบและที่ยอด ผลแข็ง รูปรี ขนาดเล็ก บางถิ่นเรียกว่าผักชีช้าง ภาคใต้เรียกว่าใบหลม หรือใบอีหรม

เนื่องจากภาษาอังกฤษเรียกว่า patchouli น้ำมันพิมเสนได้จากการกลั่นกิ่งและใบต้นพิมเสน จึงมีชื่อเรียกว่า น้ำมันแพตชูลี นิยมใช้ปรุงเป็นน้ำหอม แต่งกลิ่นสบู่ ใช้ผสมน้ำอาบเพื่อระงับกลิ่นตัว โบราณใช้แต่งกลิ่นขี้ผึ้งสีปาก ในทางยาใช้ทาแก้ปวด ต้นพิมเสนเป็นส่วนผสมหนึ่งในตำรับยาหอม ตำรับยาแก้ไข้ ใบสดต้มน้ำดื่มแก้ปวดประจำเดือน ยาชงจากยอดแห้งและรากดื่มเป็นยาขับปัสสาวะและขับลม ผงใบใช้เป็นยานัตถุ์และเป็นยาทำให้จาม กิ่งและใบแห้งใส่ไว้ในตู้เสื้อผ้าทำให้มีกลิ่นหอมและช่วยป้องกันแมลงมากัดเสื้อผ้า

นอกจากนี้ยังมีพิมเสนอีกชนิดหนึ่ง คือพิมเสนในธรรมชาติที่พบแทรกอยู่ในเนื้อไม้ของพืช เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงได้ถึง 70 เมตร มีกิ่งก้านสาขา ใบเป็นใบเดี่ยว ใบที่อยู่ตอนบนของต้นเรียงแบบสลับ ส่วนใบที่อยู่ตอนล่างออกตรงข้าม ใบรูปไข่ ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบ ผลเป็นผลแห้งมีปีก มี 1 เมล็ด พิมเสนที่พบมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาวขุ่นหรือแดงเรื่อๆ มีกลิ่นหอมเย็น ฉุน พิมเสนบริสุทธิ์จะเป็นรูปหกเหลี่ยม ละลายในปิโตรเลียมอีเทอร์ เบนซิน

ตามตำราประมวลหลักเภสัชฯ ท่านจัดพิมเสนเป็นธาตุวัตถุ ได้จากการนำการบูรมาหุงกับยาอื่นๆ ได้เป็นเกล็ดแบนๆ สีขาว หรือสีแดงเรื่อๆ แต่ปัจจุบันได้จากการสังเคราะห์ซึ่งจะมีรสเผ็ดกัดลิ้น ถ้าเป็นของแท้จากธรรมชาติจะไม่กัดลิ้นแต่จะทำให้เย็นปากคอ สมัยก่อนใส่ในหมากพลู แพทย์แผนโบราณใช้เป็นยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ กระตุ้นการหายใจ กระตุ้นสมอง บำรุงหัวใจ ใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวาย ทำให้ง่วงซึม ถ้าใช้เกินขนาดอาจทำให้อาเจียน

การอบสมุนไพรใช้พิมเสนเป็นส่วนประกอบในตัวยา พิมเสนซึ่งระเหิดเมื่อถูกความร้อน มีกลิ่นหอม ใช้แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ผสมในลูกประคบเพื่อช่วยแต่งกลิ่น มีฤทธิ์แก้พุพอง แก้หวัด นอกจากนี้ยังผสมอยู่ในยาหม่อง น้ำอบไทย ในยาหอมจะมีใบพิมเสนและพิมเสนผสมอยู่ด้วย สมัยก่อนพิมเสนเป็นยาที่หายาก มีราคาแพง จึงมีคำพูดที่ว่า อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ

ในตำรายาไทยบอกไว้ว่า พิมเสนการบูรช่วยให้นอนหลับสนิท แต่คนชอบเอาไปใส่ในรถ นั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รถชนกัน ดังนั้นห้ามใช้ในรถเด็ดขาด พิมเสนน้ำใช้ดมแก้หวัด บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ เมารถ เมาเรือ บรรเทาอาการบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น